วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟรั่ว ไฟกระชาก ป้องกันไฟไหม้ ( ตอน 5 )

คลิกที่รูปเพื่อขยาย

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟตก ไฟกระชาก ป้องกันไฟไหม้ 


กล่องไฟคุ้มบ้าน (5) ตอนสุดท้าย

ไฟรั่ว-ไฟเกิน-ไฟอาร์ค-ฟ้าผ่า หรือ ไฟกระชาก …ทำให้ไฟไหม้บ้าน ชีวิตและทรัพย์สินของเราเสียหาย ได้แค่ไหน บอกไปแล้วเพราะเบรกเกอร์ทั่วไปที่เราใช้กันไม่ทำงานตัดไฟให้เรา
แต่ “กล่องควบคุมไฟฟ้า” ผลงาน ผศ. ดร กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองคณบดีฝ่าย วิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทำ งานช่วยชีวิตและพิทักษ์ทรัพย์สินให้เราได้…วันนี้มาว่ากันต่อถึงสรรพคุณอย่างอื่นที่ เบรกเกอร์ทั่วไปไม่มีและทำไม่ได้
บ้านอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งที่มีการใช้ไฟฟ้ามากรวมทั้งใกล้หม้อแปลงไฟฟ้า ปัญหาที่มักจะเจอกัน ” ไฟกระชาก ” หรือ “แรงดันไฟฟ้าเพิ่มสูงเกินปกติ”
โดยเฉพาะในช่วงเวลาโรงงานหยุดเดินเครื่องจักร แรงดันไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาด้วยแรงดันสูงๆ จู่ๆ โรงงานปิดสวิตซ์หยุดเดินเครื่องจักร …ไฟฟ้าแรงดันสูงที่ถูกส่งมาแรงๆเป็นไหลล้นเข้าบ้านเรา แม้จะไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำบ้านพังหรือคนเสียชีวิตแต่จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสื่อมเร็วกว่าปกติ….เจอปัญหานี้เบรกเกอร์ทั่วไปไม่ตัดไฟ ..แต่ เบรกเกอร์ ดร กฤษณ์ชนม์จัดการให้เราได้
ไฟตก เป็นอีกปัญหาที่มักจะเกิดกับบ้านอยู่ปลายสายไฟฟ้าด้วยแรงดันไฟฟ้าที่ถูกส่งมากว่าจะถึงบ้านมีไม่ถึง 220 โวลต์ ผลที่ตามมาเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายจะเสื่อมพังเร็ว…ปัญหานี้ก็เช่นกันเบรกเกอร์ทั่วไปไม่ตัดไฟให้เรา แต่กล่องควบคุมไฟฟ้าของราชมงคลธัญบุรีช่วยท่านได้
อีกปัญหาจะพบมากเป็นพิเศษกับบ้านที่สร้างมาในระยะหลัง นับแต่เริ่มมีการบังคับให้ บ้านต้องมีสายดิน ปลั๊กไฟต้องมีสายไฟฟ้าสามเส้น…สายไฟ (L) สายศูนย์ (N) สายดินบ้านสร้างเสร็จเขาขาย เราซื้อ มีเจ้าของบ้านสักกี่คนจัแงะปลั๊กมาดูว่าเดินสายไฟ 3 เส้นจริงไหม สายดินที่ว่ามีได้ต่อเชื่อมครบวงจรหรือเดินหดสั้นแค่ครึ่งเดียว เพราะช่าง ลักไก่ลดต้นทุนค่าก่อสร้าง เจ้าของบ้านไม่มีทางรู้เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานเป็นปกติ เบรกเกอร์ทั่วไปไม่สามารถบอกให้เรารู้ ระบบไฟฟ้ามีปัญหาอย่างไร…แต่เบรกเกอร์ของ ดร กฤษณ์ชนม์ ช่างลักไก่ยังไงจะมีไฟกะพริบโชว์ให้เรารู้ทันที
ไฟสีแดงกะพริบแสดงว่าอันตรายต้องรีบเรียกช่างให้มาแก้ไขด่วน
ไฟเหลืองกะพริบ. เตือนให้ระวัง จะเรียกช่างมาตรวจเช็คหรือไม่ตามใจคุณท่านเจ้า ของบ้านค่ะ
แล้วอย่างนี้จะไม่ให้เรียกว่า สุดยอดเบรกเกอร์ของโลกได้อย่างไร

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ







ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (1) ไฟฟ้าลัดวงจร


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 21 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (2) ไฟช็อต ไฟรั่ว จากน้ำท่วม


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 28 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (3) เบรกเกอร์ ป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 7 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (4) ป้องกัน ไฟเกิน ฟ้าผ่า


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (5) ป้องกัน ไฟกระชาก

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟกระชาก ป้องกันไฟไหม้ ( ตอน 4 )

คลิกที่รูปเพื่อขยาย

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟตก ไฟกระชาก ป้องกันไฟไหม้ 

กล่องไฟคุ้มบ้าน (4)

นานๆ ได้เจอสิ่งประดิษฐ์ดีๆ ขอว่ากันยาวหน่อยค่ะ กับ เบรกเกอร์ กล่องควบคุมไฟฟ้า หรือสุดยอด เบรกเกอร์ ของโลก ผลงาน ผศ. ดร กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองคณบดีฝ่าย วิชาการและวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ใช้ ไฟเกิน ไปนิดหน่อยไม่เกิน 25%เกิดไฟอาร์คในบ้าน เบรกเกอร์ทั่วไปจะไม่ตัดไฟ…มันเลยเกิดปัญหาไฟไหม้บ้านตามมา
น้ำท่วมปลั๊ก ไฟรั่วเบรกเกอร์ทั่วไปไม่ตัดไฟฟ้า …น้ำท่วมปี 2554 คนเลยถูกไฟดูดตาย ไม่น้อย
เป็นแค่โจทย์เบื้องต้น ทำให้ ดร กฤษณ์ชนม์ต้องมานั่งคิดทำกล่องควบคุมไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติดีเลิศกว่า เบรกเกอร์ ทั่วไป เพื่อแก้ปัญหาความปลอดภัยจากไฟฟ้าที่คนทั่วไปไม่รู้…พานคิดไปว่า “ไฟไหม้เพราะไฟฟ้าลัดวงจร” เป็นเพียงคำที่ยกมาอำกันเล่นๆ
แต่เบรกเกอร์ช่วยป้องกันได้แค่ใช้ ไฟเกิน -ไฟอาร์ค-ไฟรั่ว ไม่สมกับผลงานชิ้นเอกระดับโลกที่ไม่มีชาติไหนเคนทำมาก่อน
ฟ้าผ่า กล่องควบคุมฯ นี้ก็ยังช่วยได้…เคยมีเบรกเกอร์ยี่ห้อไหนยกเรื่องนี้มาชวนเชื่อบ้าง ไฟจากฟ้าที่ผ่าลงมามีแรงดันสูงถึง 10,000,000 โวลต์ ในขณะที่ไฟฟ้าใช้ตามบ้านมีแรงดันแค่ 220 โวลต์..คิดดูแล้วกัน เมื่อผ่าลงมากำลังไฟฟ้าผ่าแล่นมาตามสายไฟฟ้าพุ่งเข้าบ้านเราจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กทิ้งไว้พังเสียหายแค่ไหน..ถ้าผ่าไกลบ้านดีหน่อย กว่าจะถึงบ้านเราแรงดันลดลงไปตามระยะทาง ความเสียหายไม่ค่อยเห็น
ถ้าฟ้าผ่าใกล้บ้านบอกได้ว่าไม่มีเหลือ และต่อให้ติด เบรกเกอร์ ที่มีขายกันทั่วไป ก็ช่วยอะไรไม่ได้เพราะไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อใช้ในกรณีแบบนี้
แต่กล่องควบคุมไฟฟ้าของ ดร กฤษณ์ชนม์ ออกแบบไว้ไม่อนุญาตให้มันวิ่งเข้าบ้านเพราะในกล่องควบคุมฯ มี “กับดักฟ้าผ่า” ผ่าเมื่อไหร่วิ่งมาเจอกับดักจะถูกบังคับให้วิ่งไหลลงดิน แทนที่จะปล่อยให้วิ่งเข้าบ้านทำให้ข้าวของเสียหาย และเพื่อไม่เป็นการโอ้อวดจนเกินไป ดร กฤษณ์ชนม์ ย้ำ กับดักฟ้าผ่าใช้ได้กรณีฟ้าผ่าใกล้บ้านและไกลบ้านเท่านั้น…
แต่ถ้าผ่าลงมาตรงบ้านเราพอดี อันนี้กับดักไฟฟ้าก็เอาไม่อยู่ค้า

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ







ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (1) ไฟฟ้าลัดวงจร


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 21 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (2) ไฟช็อต ไฟรั่ว จากน้ำท่วม


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 28 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (3) เบรกเกอร์ ป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 7 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (4) ป้องกัน ไฟเกิน ฟ้าผ่า


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (5) ป้องกัน ไฟกระชาก

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟตก ไฟกระชาก ป้องกันไฟไหม้ ( ตอน 3 )

คลิกที่รูปเพื่อขยาย

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟตก ไฟกระชาก ป้องกันไฟไหม้ 

กล่องไฟคุ้มบ้าน (3)

อย่างที่บอกไป กล่องควบคุมไฟฟ้าผลงานของ ผศ. ดร กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี….ไม่ได้มีประโยชน์แค่ช่วยตัดไฟฟ้า กรณีไฟเกินและไฟรั่วได้ดีกว่า เบรกเกอร์ ทั่วไป
เพราะถ้าช่วยตัดไฟได้แค่นี้ ไม่สมกับคำว่า ” เบรกเกอร์ กล่องควบคุมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก” เอาซะเลย
ประโยชน์อย่างอื่นที่เบรกเกอร์ทั่วไปทำไม่ได้ไม่ตัดไฟไฟไหม้บ้าน… รู้จักไหม “ไฟอาร์ค
เคยเจอปลั๊กหลวมไหม ที่เวลาเราเสียบปลั๊กลงไปแล้วเกิดประกายไฟสีฟ้าอมเขียวแว้บๆ บางทีจะได้ยินเสียงแป๊บๆดังขึ้นในปลั๊ก ในสวิตซ์ … เมื่อเอามือไปสัมผัส สวิตซ์ ปลั๊ก แล้วรู้สึกร้อนผิดปกติ
นี่แหละอาการที่เรียกว่า. ไฟอาร์ค. แต่เป็นแบบที่เราสามารถพบและสังเกตุได้ง่าย … ยังมีไฟอาร์คอีกชนิดที่เรามองไม่ค่อยเห็น เพราะมันซ่อนอยู่บนฝ้าเพดาน
สายไฟฟ้าห้อยระโยงระยางบนฝ้าเพดาน มีอาการพับหัดอยู่ภายในไฟฟ้าเดินได้ไม่สะดวก ไฟอาร์คก็เกิดขึ้นได้ หรือกรณีบ้านมีเจ้าคุณหนูวิ่งซนไปมาบนฝ้าเพดาน เกิดไปกัดแทะฉนวนหุ้มสายไฟจนลวดทองแดงโผล่ออกมาเปลือยล่อนจ้อนทั้งสองเส้น แต่ไม่สัมผัสกันถึงขั้นทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร สองเส้นห่างกันแบบฉิวเฉียด ไฟอาร์คก็เกิดขึ้นมาได้
เกิดมาแล้วเบรกเกอร์ที่ใช้กันทั่วไปและทั่วโลกจะไม่ตัดไฟฟ้าให้เราหรอกค่ะ
เพราะมันเป็นกรณีของการใช้ไฟฟ้าแบบปกติ มีไฟฟ้าวิ่งเข้า-ออกบ้านถูกต้องครบถ้วน ไม่ได้วิ่งเข้ามามากออกน้อย หรือวิ่งมาแล้วเกิดช็อตเกิดรั่วแต่อย่างใด แถมไม่มีการใช้ไฟฟ้าเกินอีกต่างหาก มันเป็นแค่อาการของไฟฟ้าเดินไปมาตามสายได้ไม่สะดวกเท่านั้นเอง เบรกเกอร์ ทั่วไปจึงทำงานแบบปล่อยเลยตามเลย
เมื่อ เบรกเกอร์ ทั่วไปไม่ตัดไฟฟ้า แต่ไฟอาร์คเกิดแต่ละทีมีความร้อน .. เมื่ออาร์คถี่อาร์คบ่อย ความร้อนสะสมลุกเป็นไฟ และจะขยายตัวเป็นไฟไหม้บ้าน
ต่างกับ เบรกเกอร์ กล่องควบคุมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก by ดร. กฤษณ์ชนม์ เจอไฟอาร์คแบบจะทำงานตัดไฟฟ้าให้เราสบายใจ ไม่ต้องห่วงไฟไหม้บ้าน… แต่สรรพคุณแค่นี้ก็นังจิ้บๆ ยังมีผลงานให้นำมาเล่าเพื่อให้คนไทยได้ชื่นชมอีกหลายตอน

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ






ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (1) ไฟฟ้าลัดวงจร


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 21 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (2) ไฟช็อต ไฟรั่ว จากน้ำท่วม


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 28 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (3) เบรกเกอร์ ป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 7 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (4) ป้องกัน ไฟเกิน ฟ้าผ่า


ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (5) ป้องกัน ไฟกระชาก

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟตก ไฟกระชาก ( ตอน 2 )

คลิกที่รูปเพื่อขยาย

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟตก ไฟกระชาก ป้องกันไฟไหม้ 

กล่องไฟคุ้มบ้าน (2)


มาว่ากันต่อเรื่อง เบรกเกอร์ ควบคุมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก ผลงานของ ผศ. ดร กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี…. เป็นยิ่งกว่าเบรกเกอร์ทั่วไปที่คนไทยและคนในโลกเคยรู้จักกันมา

คราวที่แล้วพูดถึงกรณีไฟไหม้บ้านเกิดจากเราใช้ไฟเกินไปเล็กน้อยไม่เกิน 25% เบรกเกอร์ทั่วไปไม่เด้งตัดไฟเลยทำให้สายไฟฟ้าร้อนจนเกิดการสะนมความร้อนลุกเป็นไฟไหม้บ้าน แต่เบรกเกอร์ของ ดร กฤษณ์ชนม์เด้งตัดไฟได้. ช่วยคุ้มครองบ้านไม่ให้เกิดไฟไหม้ได้

นั่นเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่ผลักดันให้ ดร กฤษณ์ชนม์คิดค้นเบรกเกอร์ตัวนี้ขึ้นมา ยังมีอีกสาเหตุสำคัญที่คนไทยไม่รู้ …. เกิดอุทกภัยน้ำท่วมปลั๊กไฟ เบรกเกอร์ทั่วไปไม่ตัดไฟ
คงไม่ลืมเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีใช่ย่อยเจอไปเต็มๆ … ชุมชนละแวกมหาวิทยาลัยเจอน้ำท่วม ชาวบ้านกลับมาดูแลบ้านถูกไฟฟ้าจากน้ำท่วมปลั๊กดูดตายทั้งที่บ้านมีเบรกเกอร์พร้อมมูล แต่มันกลับไม่ทำงานตัดไฟ
สาเหตุนั้นมาจากน้ำท่วมที่หลากมาไม่ใช่น้ำประปาสะอาดที่ไหลเข้าไปในปลั๊ก ไฟฟ้าจะเกิดลัดวงจร ( ไฟช็อต ) เบรกเกอร์จะเด้งตัดไฟทันที
แต่น้ำท่วมเป็นน้ำสกปรกเจือปนไปด้วนสารพัดสรรพสิ่งที่ไหลผสมปนมา เลยทำให้น้ำมีค่าความต้านทานไฟฟ้า เมื่อท่วมท้นล้นเข้าไปในปลั๊ก แทนที่เบรกเกอร์จะตีค่าว่ามีการลัดวงจร ( ไฟช็อต ) เกิดขึ้น.
มันกลับสำคัญผิดตีค่าน้ำสกปรกเป็นเสมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราเสียบปลั๊กเปิดใช้งานนั่นแหละเบรกเกอร์เลยไม่เด้งตัดไฟ ยังคงปล่อยกระแสไฟฟ้าไปอย่างนั้นใครเดินมาใกล้เลยเจอไฟดูดตาย
เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ดร กฤษณ์ชนม์มุ่งมั่นคิดค้นหาสิ่งประดิษฐ์มาควบคุมตัดไฟฟ้าผิดปกติ เพื่อให้คนไทยได้ใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยมากขึ้น
แต่สรรพคุณที่มีแค่ตัดไฟเกินก่อนไฟไหม้บ้านและตัดไฟน้ำท่วมปลั๊กได้ ดูจะจิ้บๆ ไม่สมกับคำเรียก ” เบรกเกอร์ กล่องควบคุมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก” เอาซะเลย
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ยังมีสรรพคุณมากกว่านั้นที่เรา ๆท่านคาดไม่ถึงว่ากล่องขนาดใหญ่กว่าแฟ้มเอกสารนิดหน่อยจะช่วยคุ้มครองชีวิตคนและบ้านมากมายขนาดนี้ คราวหน้ามาว่ากันต่ออีกค่ะ…

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ







ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (1) ไฟฟ้าลัดวงจร

ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 21 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (2) ไฟช็อต ไฟรั่ว จากน้ำท่วม

ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 28 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (3) เบรกเกอร์ ป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน

ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 7 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (4) ป้องกัน ไฟเกิน ฟ้าผ่า

ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (5) ป้องกัน ไฟกระชาก

ป้องกัน ไฟช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟตก ไฟกระชาก ( ตอน 1 )


คลิกที่รูปเพื่อขยาย

เบรกเกอร์ ป้องกัน ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟตก ไฟกระชาก ไฟช็อต ป้องกันไฟไหม้ 

กล่องไฟคุ้มบ้าน ตอน 1

ไฟฟ้าไหม้บ้านเพราะ ไฟฟ้าลัดวงจร อย่ามองเป็นเรื่องขำๆอำกันเล่นๆว่ามันเป็นแพะ รับบาป เอามาอ้างมั่วๆ ปัดสวะพอพ้นตัว
แต่นี่คือปัญหาใหญ่ที่ซ่อนอยู่ในบ้านทุกหลังคาเรือน ที่คนทั่วไปมักจะมองข้าม ไม่ยอม รับรู้และหลายคนอาจมองปัญหา ไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ไฟไหม้บ้าน ไม่น่าจะเป็นไปได้
ยุคสมัยนี้ ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ไปได้ยังไง ในเมื่ออาคารบ้านเรือนเกือบทุกหลังมี เบรกเกอร์ คัตเอาน์ตัดไฟฟ้าอัตโนมัติกันทั้งนั้น… ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ไฟ ไหม้ได้ยังไงกัน
ด้วยเชื่อกันอย่างนี้แหละ… ไฟฟ้าถึงทำให้ไฟไหม้ได้
เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า เบรกเกอร์ ที่มีขายทั่วไปและทั่วโลกทำงานยังไง ตัดไฟฟ้า ได้อย่างไร ไฟรั่ว ไฟช็อต ไฟเกิน … ถ้ากระแสไฟฟ้าในบ้านมีความผิดปกติ ใช้ไฟฟ้ามากกว่าเกิน  25% และความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นแบบฉับพลันกะทันหัน เบรกเกอร์ถึงจะตัดไฟ แน่ นอนกรณีแบบนี้ ไม่ก่อให้เกิดไฟไหม้บ้านแน่ แต่ถ้าเป็นกรณีมีกระแสไฟเกิน ต่ำกว่า 25% ผิดปกติไปแค่ 5-20 % เบรกเกอร์ไม่เด้ง ไม่ตัดไฟค่ะ 
ผศ.ดร. กฤษฌ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บอกว่าบ้านไหนเจอปัญหาอย่างนี้ บอกได้เลยว่า เจ้าของบ้านไม่มีทางรู้ และ ไม่มีทางเห็น เพราะบ้านสมัยนี้ สายไฟฟ้าซ่อนอยู่ในพนัง วางอยู่บนฝ้าเพดาน มีโอกาสเสี่ยงไฟไหม้บ้านได้
“กรณีแบบนี้ส่วนใหญ่ จะมาจากเจ้าของบ้านใช้ไฟฟ้ามากเกินที่สายจะรับได้ ใช้ไฟมาก ไม่เกิน 25% เบรกเกอร์ ไม่ตัด แต่สิ่งที่ตามมา คือ สายไฟจะร้อน เกิดความร้อนสะสม 
ช่วงเวลาแค่ 4-5 ชั่วโมง จะเกิดไฟลุกและเกิดไฟไหม้ตามมา “
เพราะเหตุนี้ นี่แหละ ผศ.ดร. กฤษฌ์ชนม์ จึงได้ออกแบบประดิษฐ์คิดค้นเบรกเกอร์ หรือ กล่องควบคุมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก ที่จะมาแก้ปัญหานี้ขึ้นมาโดยเฉพาะค่ะ เสียดาย เนื้อที่หมดมาว่าต่อคราวหน้าค่ะ.

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ






ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (1) ไฟฟ้าลัดวงจร

ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 21 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (2) ไฟช็อต ไฟรั่ว จากน้ำท่วม

ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 28 กุมภาพันธ์ 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (3) เบรกเกอร์ ป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน

ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 7 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (4) ป้องกัน ไฟเกิน ฟ้าผ่า

ลงข่าว นสพ.ไทยรัฐ เสาร์ 14 มีนาคม 2558

คอลัมน์ แม่ทองต่อพ่อประหยัด : กล่องไฟคุ้มบ้าน (5) ป้องกัน ไฟกระชาก